รายละเอียด
อบรมวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566
เวลา 09.00-12.00 น.
อบรม Live สดผ่าน Zoom Application
เมื่อเลิกงานหรือสิ้นสุดเวลาการทำงานแล้ว ก็ยังสามารถติดต่อสื่อสารสอบถามงานจากลูกจ้างได้ เป็นความคาดหวังของบริษัท ของนายจ้าง หรือหัวหน้างาน โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพื่อให้งานเดินหน้าต่อไปได้ ด้านฝั่งของลูกจ้างเองก็คาดหวังต้องการให้เวลาหลังเลิกงานเป็นเวลาส่วนตัวมากกว่า เหล่านี้หากเป็นครั้งคราวหรือไม่เกิดผลกระทบระหว่างกัน ก็อาจยังไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญมาก
แต่ปัจจุบันลักษณะงานที่เป็นการทำงานจากภายนอกสถานประกอบกิจการ (Teleworking) หรือ การทำงานจากที่บ้าน (WFH) มีเพิ่มขึ้นมาก ทั้งกรณีลักษณะงานเป็นการทำงานจากที่บ้าน (WFH) อย่างเดียว หรือมีการทำงานจากที่บ้าน (WFH) ในบางส่วนบางวันเป็นปกติ ทั้งนี้รวมถึงงานอื่นๆ ที่ปกติเป็นงานที่ต้องเข้าทำงานในที่ทำงานประจำทุกวันก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่า เป็นไปได้ที่บางกรณีบางสถานการณ์อาจจะต้องมีการทำงานจากที่บ้าน (WFH) เป็นครั้งคราว เช่น ในภาวการณ์จำเป็นเฉพาะกิจ เป็นต้น การมีเงื่อนไขและข้อตกลงร่วมกันเรื่องการทำงานจากที่บ้าน (WFH) และโดยเฉพาะประเด็นการติดต่อสื่อสารหลังเลิกงาน จึงเป็นสิ่งควรทำเพื่อรักษาความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
และยิ่งเมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 ว่าด้วยเรื่องการทำงานจากที่บ้าน (WFH) ประกาศมาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 การทราบถึงแนวทางการจัดทำรายละเอียดข้อตกลงการทำงานจากที่บ้าน (WFH) รวมถึงเงื่อนไขข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิปฏิเสธการติดต่อสื่อสารเรื่องงานหลังเลิกงาน ตามหลักสูตรนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้ หลักสูตรนี้ยังทำให้ได้รับฟังแนวทางการรับมือ และแนวทางจัดการความสัมพันธ์ที่จะคงไว้และเพิ่มประสิทธิภาพผลงานรายบุคคล เพื่อรักษาทิศทางความก้าวหน้าและการเติบโตของบริษัทให้เพิ่มสูงขึ้นต่อๆ ไป
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อกฎหมายกรณีการทำงานจากภายนอกสถานประกอบกิจการ (Teleworking) หรือ การทำงานจากที่บ้าน (WFH) ที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 กำหนดไว้
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงลักษณะการทำงานที่เข้าข่ายเป็นการทำงานจากภายนอกสถานประกอบกิจการ (Teleworking) หรือ การทำงานจากที่บ้าน (WFH) ในรูปแบบต่างๆ ทราบถึงแนวทางการจัดทำรายละเอียดข้อตกลงการทำงานจากที่บ้าน (WFH) แนวทางการจัดทำเงื่อนไขข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิปฏิเสธการติดต่อสื่อสาร แนวทางการรับมือและการจัดการ
ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม
นายจ้าง ผู้บริหาร และที่ปรึกษาการปฏิบัติตามกฎหมายองค์กร
ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เจ้าหน้าที่แรงงานสัมพันธ์และบริหารผลงาน
รูปแบบการอบรม
อบรมออนไลน์ ผ่าน Zoom Application
วิทยากร
วิทยากรด้านกฎหมายแรงงาน การบริหารงานทรัพยากรบุคคลและการบริหารผลงาน
การประเมินผล
เข้าร่วมอบรมโดยปฏิบัติตามเกณฑ์การอบรมออนไลน์และผลทดสอบหลังอบรมผ่านเกณฑ์ 70%
สิ่งที่ได้รับจากการอบรม
เอกสารประกอบการอบรม (pdf file) ประกาศนียบัตรรับรองความรู้กรณีผ่านเกณฑ์การอบรม (pdf file)
กำหนดการอบรมและหัวข้ออบรม
เวลา
|
หัวข้อ
|
ชั่วโมง
|
|
ทฤษฎี
|
ปฏิบัติ
|
||
08.30 – 09.00 น.
|
ลงทะเบียน
ทดสอบวัดความรู้ก่อนฝึกอบรม (Pre-test) |
||
09.00 – 10.30 น.
|
สรุป พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานแต่ละฉบับ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 จนถึงฉบับที่ 8 ฉบับปัจจุบัน กับพัฒนาการคุ้มครองแรงงานและการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
วัตถุประสงค์หลักของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 ความหมายของ “การทำงานจากภายนอกสถานประกอบกิจการ (Teleworking) หรือ การทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) : ลักษณะงานหรือสภาพของงานที่นายจ้างให้ลูกจ้างนำงานไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” ความแตกต่างของ “การทำงานจากที่บ้าน” และ “การรับงานไปทำที่บ้าน” และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รูปแบบของ “การทำงานจากที่บ้าน (Work from Home)” : ปกติ ผสม และไม่ปกติ การแบ่งแยกลักษณะการทำงานจากที่บ้านกับงานปกติทั่วไป สัญญาจ้างการทำงานจากที่บ้านและรายละเอียดที่ต้องมีตามกฎหมาย สิทธิของลูกจ้างที่ทำงานจากที่บ้าน สิทธิปฏิเสธการติดต่อสื่อสารเมื่อสิ้นสุดเวลาการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานจากที่บ้าน และการใช้สิทธินายจ้างในการขอให้ทำหนังสือยินยอมรับการติดต่อสื่อสาร |
1 ชั่วโมง 30 นาที
(บรรยายแบบ มีส่วนร่วม) |
–
|
10.30 – 12.00 น.
|
รูปแบบของหนังสือยินยอมและตัวอย่างข้อความยินยอมรับการติดต่อสื่อสารกับนายจ้าง หัวหน้างาน เป็นต้น
ข้อควรระวังในการกำหนดข้อความยินยอมรับการติดต่อสื่อสารเมื่อสิ้นสุดเวลาการทำงาน หากลักษณะงานปัจจุบันไม่เข้าข่ายเป็นการทำงานจากที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องกำหนดข้อความยินยอมไว้ใช่หรือไม่ การพิจารณาความจำเป็นในการกำหนดข้อความยินยอมรับการติดต่อสื่อสาร สำหรับลักษณะงานรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่การทำงานจากที่บ้าน แผนการเชิงบวกเมื่อจะเริ่มปรับเปลี่ยนสัญญาจ้างหรือเริ่มให้ลูกจ้างทำหนังสือยินยอมรับการติดต่อสื่อสาร (เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงาน) และแนวทางการรับมือและการบริหารจัดการ ทดสอบวัดความรู้หลังฝึกอบรม (Post-test) |
1 ชั่วโมง 30 นาที
(บรรยายแบบ มีส่วนร่วม) |
–
|
รวม
|
3 ชั่วโมง
|
หมายเหตุ :
10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
ค่าลงทะเบียน
ราคาจ่ายสุทธิ เป็นราคาค่าอบรม ที่รวมVat 7% และ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% |
นิติบุคคล
|
บุคคลธรรมดา
|
||
ค่าอบรม
|
จ่ายสุทธิ
|
ค่าอบรม
|
จ่ายสุทธิ
|
|
พิเศษ : สมาชิก Siamsafety & SHELaws | 2,950 | 3,068.00 | 2,950 | 3,156.50 |
พิเศษ : บุคคลทั่วไป | 3,950 | 4,108.00 | 3,950 | 4,226.50 |
หมายเหตุ:
1) แจ้งเลื่อนหรือยกเลิกการอบรมก่อนวันอบรมวันแรก 4 – 7 วัน เสียค่าธรรมเนียมการเลื่อน/ยกเลิกอบรม 30% ของค่าอบรม
2) แจ้งเลื่อนหรือยกเลิกการอบรมก่อนวันอบรมวันแรกไม่เกิน 3 วัน เสียค่าธรรมเนียมการเลื่อน/ยกเลิกอบรมเต็มจำนวนค่าอบรม
การรับความคิดเห็นความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมและบริษัทที่ใช้บริการอบรม
เรามีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงการให้บริการและพร้อมที่จะรับฟังความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมและบริษัท ที่ใช้บริการอบรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ท่านสามารถเสนอหรือส่งความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อร้องขอ ข้อร้องเรียน ข้อสงสัยหรือข้ออุทธรณ์อันเกี่ยวกับการให้บริการถึงเราได้ตลอดเวลาในทุกช่องทางการติดต่อ รวมทั้งท่านสามารถเสนอผ่านเจ้าหน้าที่ประสานงานหลักสูตร หรือเจ้าหน้าที่ประสานงานในวันอบรม หรือผ่านแบบประเมินผลบริการอบรมประจำวัน ทุกข้อร้องเรียนหรือข้ออุทธรณ์จากท่านจะได้รับการตอบรับ พิจารณาและแจ้งผลการดำเนินการกลับด้วยความรวดเร็ว
สมัครอบรมหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อคุณอลิสษา (ยุ้ย) เบอร์มือถือ 08 3096 7347 หรือ 0 2174 4710-13