รายละเอียด
รุ่นที่
|
วันอบรม
|
สถานที่อบรม
|
1
|
19 กันยายน 2565
ยืนยันจัดอบรม |
อบรม Online
ผ่าน Zoom Application |
2
|
25 ตุลาคม 2565
|
ค่อนข้างจะต้องทำความเข้าใจกันพอสมควรเลยทีเดียว กับ พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม 2562 และกฎหมายอนุบัญญัติ ทั้งด้วยความใหม่ของเนื้อหาและความไม่คุ้นชิน ทิศทางการบังคับใช้ ใครต้องทำ? เราได้เริ่มทราบบ้างแล้วเมื่อกฎหมายอนุบัญญัติประกาศในเดือนมีนาคม 2565 อย่างไรก็ตาม ในหลายองค์กรที่ต้องการทำตามกฎหมายให้ถูกต้อง ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ใช่เราใช่ไหม? ที่ต้องทำตาม พ.ร.บ. แล้วต้องทำตลอดเวลา ทุกปี ต้องจัดสรรงบประมาณมากมหาศาลรอไว้เลย หรือเมื่อไหร่ที่ต้องทำ?
และเมื่อกฎกระทรวง จป. ใหม่ 2565 ประกาศในเดือนมิถุนายน 2565 คำถามเกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ได้ถูกกระตุกขึ้นอีกครั้ง เมื่อหน้าที่การอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ใหม่ของ จป.วิชาชีพ คำถาม ข้อสงสัยในขอบเขตว่าเราเกี่ยวข้องไหม โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมเรื่องไหนบ้างที่ต้องอบรม และอีกหลายคำถาม หน้าที่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคฯ เกี่ยวพันแค่ไหน กับหน้าที่ตามกฎหมายโรคจากการทำงาน การตรวจสุขภาพ การตรวจวัดสภาพแวดล้อมและสารเคมีในบรรยายกาศการทำงาน ตลอดจนการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของกระทรวงแรงงานกำหนดไว้หลายข้อ ทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ก่อนลงมือวางแผนบนพื้นฐานดำเนินการที่จุดพอดีที่สุด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบและเข้าใจในขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม โรคจากการทำงาน ของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงแรงงาน ความสัมพันธ์ ความเหมือน ความทับซ้อน ที่เกือบจะเหมือน แต่ไม่เหมือน
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้วางแผนดำเนินการจัดอบรมด้านโรคฯ ได้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด และผู้เข้าอบรมได้แนวคิดในการวางแผนบริหารจัดการงานอาชีวอนามัยต่างๆ ได้แก่ การตรวจสุขภาพ การเฝ้าระวัง การแจ้งและรายงานด้านโรค ตลอดจนการทบทวนความจำเป็นในการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพหรือการประเมินปัจจัยเสี่ยง ทั้งนี้บนพื้นฐาน ดำเนินการพอดี เท่าที่กฎหมายกำหนด ไม่มาก ไม่น้อย
ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม
นายจ้าง ผู้บริหารระดับสูงหรือตัวแทน
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัย
เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม ผู้จัดการด้านควบคุมมลพิษและสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารความสัมพันธ์กับชุมชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ CSR
ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายหรือผู้รับผิดชอบการปฏิบัติตามกฎหมายขององค์กร ตลอดจนผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
ผู้ตรวจประเมินระบบการจัดการ ผู้ตรวจประเมินการดำเนินการและการปฏิบัติตามกฎหมาย วิทยากร และผู้สนใจทุกท่าน
รูปแบบการอบรม
อบรมออนไลน์ ผ่าน Zoom Application
วิทยากร
ดร.อรพันธ์ อันติมานนท์ รองผู้อำนวยการ กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
อ.เกษมศานต์ ปทุมารักษ์ ที่ปรึกษากฎหมาย การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
การประเมินผล
เข้าร่วมอบรมโดยปฏิบัติตามเกณฑ์การอบรมออนไลน์ และผลทดสอบหลังอบรมผ่านเกณฑ์ 70%
สิ่งที่ได้รับจากการอบรม
เอกสารประกอบการอบรม (Pdf file) ประกาศนียบัตรรับรองความรู้กรณีผ่านเกณฑ์การอบรม (Pdf file)
กำหนดการอบรมและหัวข้ออบรม
เวลา
|
หัวข้อ
|
ชั่วโมง
|
|
ทฤษฎี
|
ปฏิบัติ
|
||
08.45 – 09.00 น.
|
ลงทะเบียน |
ทดสอบวัดความรู้ก่อนฝึกอบรม (Pre-test)
อ.เกษมศานต์ ปทุมารักษ์
ที่ปรึกษากฎหมาย การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
หน้าที่อบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้าง : หน้าที่ใหม่ ของ จป.วิชาชีพ ตามกฎกระทรวง จป. 2565
ความเหมือน ความแตกต่าง ขอบเขต และความทับซ้อน : โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม โรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน และโรคจากการประกอบอาชีพและโรคสิ่งแวดล้อม
ความเชื่อมโยง พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพฯ ของกระทรวงสาธารณสุข กับกฎหมายโรคจากการทำงานต่างๆ ของกระทรวงแรงงาน
หน้าที่การแจ้งข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรค และหน้าที่อบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ตามกฎกระทรวง จป. : เรื่องที่เกือบจะเหมือนกัน
เกณฑ์การพิจารณา เมื่อไหร่ที่ต้องทำตามกฎหมาย : เพียงมีสิ่งคุกคาม หรือเมื่อสิ่งคุกคามนั้นมีความเสี่ยง? เกณฑ์เหมือนหรือต่างกันในสองกระทรวง?
จำเป็นต้องประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพหรือการประเมินปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพหรือไม่ : ทำความเข้าใจข้อกฎหมายโรคจากการทำงาน กฎหมายโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน กฎหมายการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ
สรุปผังความคิด สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนลงมืออบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และวางแผนของบประมาณทำตามกฎหมายทั้งสองกระทรวง
(บรรยายแบบ
มีส่วนร่วม)
ดร.อรพันธ์ อันติมานนท์
รองผู้อำนวยการ กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 และอนุบัญญัติ
ชื่อหรืออาการสำคัญของโรคจากประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม
หน้าที่ของนายจ้างเกี่ยวกับโรคจากการประกอบอาชีพ
หน้าที่ของนายจ้างเกี่ยวกับโรคจากสิ่งแวดล้อม กรณีเป็นและไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ
ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ และการแจ้งให้ลูกจ้างทราบ
การตรวจสุขภาพ การเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562
ถาม-ตอบ
ทดสอบวัดความรู้หลังฝึกอบรม (Post-test)
(บรรยายแบบ
มีส่วนร่วม)
หมายเหตุ :
10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
ค่าลงทะเบียน
ราคาจ่ายสุทธิ เป็นราคาค่าอบรม ที่รวมVat 7% และ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% |
นิติบุคคล
|
บุคคลธรรมดา
|
||
ค่าอบรม
|
จ่ายสุทธิ
|
ค่าอบรม
|
จ่ายสุทธิ
|
|
พิเศษ : สมาชิก Siamsafety & SHELaws |
4,500
|
4,680
|
4,500
|
4,815
|
พิเศษ : บุคคลทั่วไป |
5,500
|
5,720
|
5,500
|
5,885
|
**ชำระเงินค่าอบรมล่วงหน้าก่อนวันเข้ารับอบรมไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ**
หมายเหตุ:
1) แจ้งเลื่อนหรือยกเลิกการอบรมก่อนวันอบรมวันแรก 4 – 7 วัน เสียค่าธรรมเนียมการเลื่อน/ยกเลิกอบรม 30% ของค่าอบรม
2) แจ้งเลื่อนหรือยกเลิกการอบรมก่อนวันอบรมวันแรกไม่เกิน 3 วัน เสียค่าธรรมเนียมการเลื่อน/ยกเลิกอบรมเต็มจำนวนค่าอบรม
การรับความคิดเห็นความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมและบริษัทที่ใช้บริการอบรม
เรามีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงการให้บริการและพร้อมที่จะรับฟังความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมและบริษัท ที่ใช้บริการอบรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ท่านสามารถเสนอหรือส่งความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อร้องขอ ข้อร้องเรียน ข้อสงสัยหรือข้ออุทธรณ์อันเกี่ยวกับการให้บริการถึงเราได้ตลอดเวลาในทุกช่องทางการติดต่อ รวมทั้งท่านสามารถเสนอผ่านเจ้าหน้าที่ประสานงานหลักสูตร หรือเจ้าหน้าที่ประสานงานในวันอบรม หรือผ่านแบบประเมินผลบริการอบรมประจำวัน ทุกข้อร้องเรียนหรือข้ออุทธรณ์จากท่านจะได้รับการตอบรับ พิจารณาและแจ้งผลการดำเนินการกลับด้วยความรวดเร็ว
สมัครอบรมหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อคุณอลิสษา (ยุ้ย) เบอร์มือถือ 08 3096 7347 หรือ 0 2174 4710-12