ตรวจสุขภาพสารเคมีและเลือกตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) อย่างไร ไม่ให้สูญเปล่า และถูกต้องตามกฎหมาย

2,990.00 บาท3,990.00 บาท


รุ่นที่ 8 : วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน 2568

เวลา 09.00-12.00 น.
อบรม Live สดผ่าน Zoom Application

 

ล้างค่า
รหัสสินค้า: ไม่ระบุ หมวดหมู่: ,

รายละเอียด

รุ่นที่ 8 : วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน 2568
เวลา 09.00-12.00 น.
อบรม Live สดผ่าน Zoom Application

                เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อมีการทำงานกับสารเคมีอันตรายก็จะต้องมีการพิจารณาจัดให้มีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงทางด้านเคมี นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่กำหนดรายชื่อสารเคมีอันตรายที่จะต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงทางด้านเคมีไว้ เมื่อพิจารณาจากหลักการที่ควรจะเป็น จึงมีความเข้าใจผิดได้ว่า เมื่อมีการทำงานกับสารเคมีอันตรายตามรายชื่อที่กฎหมายกำหนดไว้ ก็จะต้องจัดตรวจระดับสารเคมีอันตรายดังกล่าวในร่างกายของคนทำงานเพื่อได้ชื่อว่ามีการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตามการวัดระดับสารเคมีอันตรายในร่างกายให้ได้ค่าที่ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับการเลือกวัดตัวชี้บ่งทางชีวภาพ (Biomarker) เป็นสำคัญ สารเคมีอันตรายบางรายการวัดจากค่าสารเคมีอันตรายตัวนั้นๆ ได้เลย สารเคมีอันตรายหลายรายการจะต้องวัดผ่านตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ เพื่อให้ทราบค่าทางอ้อมทำให้ทราบระดับสารเคมีอันตรายในร่างกายดังกล่าว และสารเคมีจำนวนมากมายหลายรายการอย่างมากที่ตามมาตรฐานทางการแพทย์ยังไม่ระบุว่าสามารถตรวจวัดระดับในร่างกายได้ หลายรายการยังไม่มีเครื่องมือและห้องปฏิบัติการรองรับในประเทศไทยแต่กลับมีการพูดคุยให้มีการตรวจ

                เพื่อไม่ให้การตรวจสุขภาพสารเคมีที่ถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นการตรวจที่ไม่สามารถแปลผล/วิเคราะห์หรือนำผลไปใช้ประโยชน์ได้ หลักสูตรนี้จึงคุ้มค่าอย่างมากในการเข้าอบรม เพื่อรับความรู้วิธีการพิจารณาเลือกตัวบ่งชี้ทางชีวภาพตามมาตรฐาน หลีกเลี่ยงการรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากฝ่ายต่างๆ เพื่อให้การตรวจสุขภาพสารเคมีที่จัดขึ้น เป็นการตรวจที่คุ้มเงิน ไม่สูญเปล่า

วัตถุประสงค์

                 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบวิธีเลือกตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker) ที่ถูกต้อง เมื่อจะจัดการตรวจสุขภาพสารเคมี จะได้เลือกตรวจเฉพาะที่จำเป็น ไม่จัดตรวจในรายการที่มาตรฐานทางการแพทย์ไม่ได้แนะนำให้ตรวจ ช่วยควบคุมงบไม่ให้จัดตรวจในรายการที่สูญเปล่า ไม่ตรวจในรายการที่ไม่สามารถแปลผล/วิเคราะห์ที่ซึ่งไม่สามารถนำผลการตรวจไปใช้ประโยชน์ได้

                 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงที่มาที่ไปของการไม่สามารถตรวจสุขภาพสารเคมีในบางรายการแม้กฎหมายกำหนดชื่อสารเคมีนั้นไว้เป็นรายการต้องตรวจ สามารถอธิบายเหตุผลการไม่ตรวจ และที่สำคัญสามารถรวบรวมเอกสารอ้างอิงว่าไม่ได้ละเลยกฎหมาย ยังคงดูแลสุขภาพอาชีวอนามัยผู้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

                 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัย

                 เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม ผู้จัดการฝ่ายสิ่งแวดล้อม

                 พยาบาลประจำสถานประกอบการ

                 เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคล ตลอดจนผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล

                 วิทยากร และผู้สนใจทุกท่าน

รูปแบบการอบรม

                อบรมออนไลน์ ผ่าน Zoom Application

วิทยากร

                แพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม

การประเมินผล

                เข้าร่วมอบรมโดยปฏิบัติตามเกณฑ์การอบรมออนไลน์และผลทดสอบหลังอบรมผ่านเกณฑ์ 70%

สิ่งที่ได้รับจากการอบรม

                เอกสารประกอบการอบรม (pdf file) ประกาศนียบัตรรับรองความรู้กรณีผ่านเกณฑ์การอบรม (pdf file)

กำหนดการอบรมและหัวข้ออบรม

เวลา
หัวข้อ
ชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
08.30 – 09.00 น.
ลงทะเบียน

ทดสอบวัดความรู้ก่อนฝึกอบรม (Pre-test)

09.00 – 10.30 น.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง

รายชื่อและกลุ่มสารเคมีอันตรายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงทางเคมี

วิธีการประเมินการสัมผัสสารเคมี : วิธีต่างๆ ในการประเมินว่าคนทำงานได้มีการสัมผัสสารเคมีจากการทำงานมากน้อยเพียงใด และวิธีที่เป็นวิธีโดยตรงที่สุด

ความหมายของการตรวจระดับสารเคมีในร่างกายของคนทำงาน (Biological monitoring)

เมื่อไหร่ต้องตรวจระดับสารเคมีในร่างกาย : เกณฑ์การพิจารณาความจำเป็นและเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม เมื่อจะตรวจระดับสารเคมีในร่างกายคนทำงาน

ความหมายของตัวอย่างทางชีวภาพ (Specimen), ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biological Marker : Biomarker)

ชนิดของ Biomarker (Exposure/Direct, Effect/Indirect, Susceptibility)

ความสำคัญและบทบาทของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ

องค์กรหรือสถาบันที่กำหนดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและค่ามาตรฐาน : ที่มาของข้อมูลสารเคมีที่มีตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ

ตัวอย่างรายชื่อสารเคมีที่สามารถตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้

เหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของผลตรวจ แม้สารเคมีสามารถตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้

1 ชั่วโมง 30 นาที
(บรรยายแบบ
มีส่วนร่วม)
10.30 – 12.00 น.
รายชื่อสารเคมีจำนวนมากและรายชื่อสารเคมีตัวอย่างที่ยังไม่มีคำแนะนำให้ทำการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ เนื่องด้วยข้อจำกัดข้อมูลความเชื่อมโยงการสัมผัสสารกับค่าที่ตรวจได้ และรายชื่อสารเคมีที่มีตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ แต่อาจมีข้อจำกัดเรื่องเครื่องมือ วิธีการในการตรวจทดสอบและวิเคราะห์ ตลอดจนห้องปฏิบัติรองรับในประเทศไทย

ความหมายของคำว่า ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการสัมผัส

คุณสมบัติและมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางด้านพิษวิทยา : จำนวนและข้อจำกัดการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในประเทศไทย

เหตุที่ทำให้มีการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในสารเคมีที่ไม่สามารถตรวจวัดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ

ผลกระทบและความสูญเปล่า หากตรวจสุขภาพสารเคมีในรายการที่ไม่มีหรือไม่สามารถตรวจวัดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้

มาตรการดำเนินการทางอาชีวอนามัยเพื่อทดแทนการไม่ได้ตรวจหาระดับของสารเคมีอันตรายในร่างกาย เนื่องจากยังไม่มีคำแนะนำให้ทำการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเพื่อการตรวจสุขภาพสารเคมี

การรวบรวมเอกสารอ้างอิงที่จำเป็นเพื่อแสดงเจตนา ไม่ได้ละเลย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย : กรณีสารเคมีอันตรายที่ใช้อยู่ในรายชื่อสารเคมีอันตรายที่ต้องตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง แต่ยังไม่มีคำแนะนำให้ทำการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเพื่อการตรวจสุขภาพสารเคมี

ทดสอบวัดความรู้หลังฝึกอบรม (Post-test)

1 ชั่วโมง 30 นาที
(บรรยายแบบ
มีส่วนร่วม)
รวม
3 ชั่วโมง

หมายเหตุ :

10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

ค่าลงทะเบียน

ราคาจ่ายสุทธิ เป็นราคาค่าอบรม
ที่รวมVat 7% และ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
นิติบุคคล
บุคคลธรรมดา
ค่าอบรม
จ่ายสุทธิ
ค่าอบรม
จ่ายสุทธิ
พิเศษ : สมาชิก Siamsafety & SHELaws
2,990
3,109.60
2,990
3,199.30
พิเศษ : บุคคลทั่วไป
3,990
4,149.60
3,990
4,269.30

หมายเหตุ:

1) แจ้งเลื่อนหรือยกเลิกการอบรมก่อนวันอบรมวันแรก 4 – 7 วันทำการ เสียค่าธรรมเนียมการเลื่อน/ยกเลิกอบรม 30% ของค่าอบรม
2) แจ้งเลื่อนหรือยกเลิกการอบรมก่อนวันอบรมวันแรกไม่เกิน 3 วันทำการ เสียค่าธรรมเนียมการเลื่อน/ยกเลิกอบรมเต็มจำนวนค่าอบรม

การรับความคิดเห็นความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมและบริษัทที่ใช้บริการอบรม

                เรามีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงการให้บริการและพร้อมที่จะรับฟังความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมและบริษัท ที่ใช้บริการอบรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ท่านสามารถเสนอหรือส่งความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อร้องขอ ข้อร้องเรียน ข้อสงสัยหรือข้ออุทธรณ์อันเกี่ยวกับการให้บริการถึงเราได้ตลอดเวลาในทุกช่องทางการติดต่อ รวมทั้งท่านสามารถเสนอผ่านเจ้าหน้าที่ประสานงานหลักสูตร หรือเจ้าหน้าที่ประสานงานในวันอบรม หรือผ่านแบบประเมินผลบริการอบรมประจำวัน ทุกข้อร้องเรียนหรือข้ออุทธรณ์จากท่านจะได้รับการตอบรับ พิจารณาและแจ้งผลการดำเนินการกลับด้วยความรวดเร็ว

 

สมัครอบรมหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อคุณอลิสษา (ยุ้ย) เบอร์มือถือ 08 3096 7347 หรือ 0 2174 4710-12

ข้อมูลเพิ่มเติม

สมาชิก Siamsafety.com

ใช้สิทธิการเป็นสมาชิก, ไม่ได้เป็นสมาชิก